กฏหมายแรงงานพื้นฐานที่ควรทราบ

กฏหมายแรงงาน

หลายๆ ท่านเคยสงสัยกันเกี่ยวกับเรื่อง “สิทธิประโยชน์และกฏหมายแรงงาน” กันมาบ้างมั้ยครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องรู้กันเอาไว้เพื่อประโยชน์ของตนเอง วันนี้เราเลยอยากจะมาพาทุกๆ ท่านไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ “กฏหมายแรงงานพื้นฐาน” ที่ควรทราบกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

ทำความรู้จักกับ “กฏหมายแรงงาน”

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร มีที่มาจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวดดังกล่าวนี้ มีทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายๆ อย่าง ดังเช่น

●การลาป่วย สำหรับการลาป่วยตามมาตรา 32 นั้นลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ หากป่วยและลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ หากในกรณีที่แสดงไม่ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี ตามมาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 นี้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 146 ฉะนั้นแล้วในการลาป่วยก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายแรงงานด้วย บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม

●การลากิจ (ธุระอันจำเป็น) การลาแบบนี้เอาไว้ใช้ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้เพื่อไปทำธุระจำเป็น ซึ่งการลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้

●การลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน/ปี ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประกันสังคม ที่คนทำงานต้องรู้

ประกันสังคม คือ การทำประกันกับรัฐบาล ด้วยการจ่ายเบี้ยประกันซึ่งในที่นี้เรียกว่าเงินสมทบ ให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือนโดยหักจากเงินเดือนเป็นจำนวน 5% เพื่อรับความคุ้มครองเมื่อว่างงาน, ประสบอันตราย/เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร หรือชราภาพ โดยเงินสมทบที่ว่านี้มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ ลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% รัฐบาล 2.75% โดยในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างทางสถานประกอบการสามารถใช้บริการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการชำระเงินในแต่ละเดือน โดยประกันสังคมจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

►ประกันสังคม ม.33 คือ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม แต่ละเดือน ในอัตรา 5% นายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการสมัครประกันสังคมออนไลน์ให้กับพนักงานและลูกจ้างเอง นายจ้างจะดำเนินการหัก 5% ของค่าจ้างเราอัตโนมัติ ผู้ประกันมาตรา 33 สิ้นสุดลง คือ ผู้ประกันตนตาย และ ลาออกจากงาน

►ประกันสังคม ม.39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่อาจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมให้ต่อเนื่อง หรือผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขคือต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

►ประกันสังคม ม.40 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่อาจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมให้ต่อเนื่อง หรือผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขคือต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “กฏหมายแรงงานพื้นฐานที่ควรทราบ” พร้อมกับข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคมที่ต้องรู้เช่นกัน คิดว่าน่าจะเป็นความรู้ที่ดีสำหรับวัยทำงานทุกท่านกันนะครับ

You May Also Like

เงินชดเชยเลิกจ้าง

สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง

สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว

สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้

แรงงานต่างด้าว

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงานต่างด้าว

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมต้องดูอะไรบ้าง?