สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง

เงินชดเชยเลิกจ้าง

ว่ากันด้วยเรื่องหน้าที่การงานของเราในทุกๆ วันนี้ เป็นอะไรที่เราจะต้องให้ความสำคัญและทุ่มเทในการทำงานกันเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ครับ แต่ด้วยความที่ยุคนี้งานหายากมากๆ และเศรษฐกิจก็ไม่ดีก็อาจจทำให้เกิดการ “เลิกจ้างได้” วันนี้เราจะมาพาทุกๆ ท่านไปเตรียมตัวและหาความรู้เกี่ยวกับ “สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง” ที่น่าสนใจกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ

ความคุ้มครองที่ได้รับจากประกันสังคมในช่วงโดนเลิกจ้างหรือว่างงานที่ควรทราบ

●กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน
●กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนไปรักษา
●รักษาฟรีที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้
●ถ้าหมอให้หยุดพักเพื่อรักษาตัว ได้เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะโรคเรื้อรังปีละไม่เกิน 365 วัน)

●รักษาฟันฟรี ปีละ 900 บาท

●กรณีคลอดลูก เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด
●กรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ
●กรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ
●กรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน
●กรณีชราภาพ จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนที่จ่ายมา

เงินชดเชยเลิกจ้างแบ่งสัดส่วนเป็นอย่างไรและประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

กรณีที่พนักงาน “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” จะได้เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป (รวมถึงการเลิกจ้าง เพราะสถานการณ์โควิด – 19)

• หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน – 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย

2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

•ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง “ไล่ออก” ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

หลักเกณฑ์การเสียภาษีเงินชดเชยที่ท่านควรรู้

เงินชดเชยที่ได้รับจากการเลิกจ้างถือเป็นเงินได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย โดยเงินค่าชดเชยที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าหากเงินชดเชยที่ได้รับมากกว่า 300,000 บาท ส่วนที่เกินจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ซึ่งมีหลักเกณฑ์การยื่นภาษีแยกตามประเภทเงินชดเชยที่ได้รับในกรณีของ “เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง” มีดังนี้

– อายุงาน 5 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ที่ทำงานครบ 5 ปี หรือมากกว่านั้น เมื่อได้รับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง สามารถเลือกได้ว่าจะนำเงินชดเชยที่ได้มารวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี หรือจะนำไปแยกคำนวณก็ได้ ซึ่งหากเลือกแยกคำนวณภาษีจะต้องยื่นโดยแนบใบ ภ.ง.ด.90, 91 ทั้งนี้ การไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ จะทำให้เสียภาษีน้อยลง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง” ที่พวกเราได้รวบรวมมาให้ทุกๆ ท่านได้อ่านไว้เป็นความรู้ติดตัวกันไปครับ หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่ดีกันนะครับ

You May Also Like

กฏหมายแรงงาน

กฏหมายแรงงานพื้นฐานที่ควรทราบ

สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว

สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้

แรงงานต่างด้าว

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงานต่างด้าว

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมต้องดูอะไรบ้าง?