ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าว

“แรงงาน” คือ สิ่งที่จำเป็นและมีความต้องการสูงมาก การมีกำลังพลที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดำเนินการได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้แรงงานจากภายในประเทศเพียงแห่งเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการผลิตต่างๆ จึงต้องมีการจ้างงาน “แรงงานข้ามชาติ” เพื่อมาทำงานต่างๆ มากขึ้น บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติ” หรือที่เราเรียกกันว่า “แรงงานต่างด้าว” กันครับ

แรงงานข้ามชาติคืออะไร?

แรงงานข้ามชาติ หรือ แรงงานต่างด้าว คือ บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศ ส่วนแรงงานต่างชาติ MOU หรือ Memorandum of Understanding คือเอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU ก็คือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั่นเอง โดยขั้นตอนในการนำเข้าแรงงาน นายจ้างจะต้องทำ Demand MOU หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว จากนั้นนายจ้างจะต้องยื่นคำร้องที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ ในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยจะต้องแจ้งจำนวนแรงงานและระบุสัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการให้ชัดเจน ขั้นตอนต่อไปกระทรวงแรงงานจะประสานงานไปยังประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ช่วยประกาศรับสมัครคนงาน เมื่อได้คนงานแล้ว ประเทศต้นทางจึงจะส่งรายชื่อ (Name List) มาให้ทางไทยอนุมัติต่อไป

นำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU ดีอย่างไร ?

การนำเข้าแรงงานภายใต้ข้อตกลง MOU จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการได้ พร้อมทั้งยังช่วยลดปัญหาแรงงานต่างด้าวแบบเดิม ๆ ได้อีกด้วย โดยนำเข้าแรงงาน MOU มีข้อดีดังนี้

●แรงงานที่เข้ามาทำงาน เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย
●สามารถนำเข้ามาได้จำนวนมาก
●นายจ้างสามารถกำหนดจำนวนแรงงานที่ต้องการได้
●เสียค่าใช้จ่ายน้อย
●ไม่มีความเสี่ยง

เอกสารสำคัญที่แรงงานข้ามชาติ(ต่างด้าว) ต้องมี แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายจะประกอบด้วยเอกสาร 4 อย่าง

●หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง มีตราประทับ Non Immigrant L-A ที่ยังไม่หมดอายุ
●ตรวจลงตราอนุญาตเข้าประเทศไทย (VISA) ที่ยังไม่หมดอายุ

●ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงาน ที่ยังไม่หมดอายุ ต้องระบุนายจ้างตรงกับที่ทำงานปัจจุบัน

●บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ซึ่งด้านหลังเป็นใบอนุญาตทำงาน และยังไม่หมดอายุ (ถ้าแรงงานนำเข้า MOU จะไม่มีบัตรชมพู)

สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

สิทธิพื้นฐานสำคัญเมื่อแรงงานต่างด้าวตัดสินใจเข้ามาทำงานในเมืองไทยคือเรื่องของสุขภาพอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งในส่วนนี้คือเรื่องของประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้

1. ประกันสังคม หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีรายชื่อเป็นพนักงานองค์กรชัดเจนจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบไม่ต่างจากแรงงานไทย จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะของการเป็นผู้ประกันตน มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ตนเองสังกัดหรืออยู่ในเครือข่ายแบบไม่ต้องเสียเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ ดังนี้

2. สิทธิประกันสุขภาพ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเข้าตาม MOU และทำงานประเภทแม่บ้าน เกษตรกร เลี้ยงสัตว์ การประมง การค้าที่ไม่ใช่ธุรกิจของตนเอง กลุ่มนี้จะไม่มีการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่ใช้การเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพตามเงื่อนไขของกระทรวงสาธารณสุข มีค่าจ่ายค่าตรวจสุขภาพปีละ 500 บาท และค่าประกันสุขภาพปีละ 1,600 บาท จากนั้นรายชื่อของแรงงานจะถูกบันทึกเอาไว้ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบเดียวกับคนไทย ส่งผลให้พวกเขาสามารถขอรับสิทธิ์ต่าง ๆ ตามโครงการประกันสุขภาพได้เช่นกันครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงานต่างด้าว” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีนะครับ

You May Also Like

เงินชดเชยเลิกจ้าง

สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง

กฏหมายแรงงาน

กฏหมายแรงงานพื้นฐานที่ควรทราบ

สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว

สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมต้องดูอะไรบ้าง?