สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว

สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว

สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้

เรื่องของสิทธิประโยชน์ของคนวัยทำงานทุกคนนั้น เป็นอะไรที่ต้องศึกษากันเอาไว้เผื่อใช้ประโยชน์ของตนเองเป็นการดีที่สุดใช่มั้ยหล่ะครับ ซึ่งในสิทธิเหล่านี้ครอบคลุมถึงแรงงงานต่างชาติด้วยเช่นกันครับ วันนี้เราเลยจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้” ที่น่าสนใจกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยยย!!! สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย สิทธิพื้นฐานสำคัญเมื่อแรงงานต่างด้าวตัดสินใจเข้ามาทำงานในเมืองไทยคือเรื่องของสุขภาพอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งในส่วนนี้คือเรื่องของประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้ 1. ประกันสังคม หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีรายชื่อเป็นพนักงานองค์กรชัดเจนจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบไม่ต่างจากแรงงานไทย จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะของการเป็นผู้ประกันตน มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ตนเองสังกัดหรืออยู่ในเครือข่ายแบบไม่ต้องเสียเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ ดังนี้ - เมื่อขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้วต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 5% ของเงินเดือน (ไม่เกิน 750 บาท) นายจ้างจ่าย 5% และรัฐบาลไทยจ่าย 2.75%- แรงงานจะได้รับสิทธิประโยชน์รวม 7 รายการ ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน- มีกองทุนเงินทดแทนโดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายในอัตรา 0.2-1% ของค่าจ้างตามประเภทความเสี่ยงกิจการ เงินส่วนนี้แรงงานได้รับต่อเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญหาย หรือเสียชีวิตขณะทำงาน 2. สิทธิประกันสุขภาพ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเข้าตาม MOU และทำงานประเภทแม่บ้าน เกษตรกร เลี้ยงสัตว์ การประมง การค้าที่ไม่ใช่ธุรกิจของตนเอง กลุ่มนี้จะไม่มีการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่ใช้การเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพตามเงื่อนไขของกระทรวงสาธารณสุข มีค่าจ่ายค่าตรวจสุขภาพปีละ 500 บาท และค่าประกันสุขภาพปีละ 1,600 บาท จากนั้นรายชื่อของแรงงานจะถูกบันทึกเอาไว้ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบเดียวกับคนไทย ส่งผลให้พวกเขาสามารถขอรับสิทธิ์ต่าง ๆ ตามโครงการประกันสุขภาพได้ทันที เช่น การเลือกสถานพยาบาลที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย ประสบอันตราย เป็นอีกสิทธิด้านสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานต่างด้าวอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ●นายจ้างต้องปฏิบัติกับแรงงานเพศชายและหญิงอย่างเท่าเทียมยกเว้นสภาพหรือลักษณะงานที่ไม่สามารถปฏิบัติได้●งานทุกประเภทสามารถทำได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน ...

Read More