ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมต้องดูอะไรบ้าง?

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม

ปัจจุบันเรื่องของการทำงานของเราในทุกๆ วันนั้น ก็หวังว่าจะได้ค่าแรงหรือผลตอบแทนที่เหมาะสมกันอยู่แล้วถูกมั้ยครับ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ค่่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมต้องดูอะไรบ้าง?” เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับ

รู้จักกับ ค่าแรงขั้นต่ำ

ค่าจ้างหรือค่าแรงขั้นต่ำ เป็นค่าตอบแทนต่ำสุดซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือนตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีความหมายเหมือนกับค่าแรงต่ำสุดซึ่งลูกจ้างจะขายแรงงานของตน แม้ว่ากฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลใช้บังคับในหลายรัฐ ก็ยังมีความเห็นต่างในผลดีและผลเสียของค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้สนับสนุนค่าจ้างขั้นต่ำบอกว่า จะเป็นการเพิ่มมาตรฐานชีวิตของลูกจ้างและลดความยากจนขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยว่า ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำสูงพอจะเห็นผลได้ดังนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มอัตราว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหมู่ลูกจ้างที่มีผลิตภาพต่ำเพราะขาดประสบการณ์หรือพิการ ดังนั้นจึงเป็นการทำร้ายแรงงานที่มีฝีมือน้อยกว่าและเป็นประโยชน์แก่แรงงานที่มีฝีมือสูงกว่า

ค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันส่งผลต่อแรงงานอย่างไร?

ด้วยค่าแรงขั้นต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบันนั้น เรียกได้ว่าแทบจะไม่เหลือเงินเก็บหากไม่ทำงานล่วงเวลาหรือหารายได้เสริมหลากหลายช่องทาง จึงทำให้การทำงานในระบบที่มีรายได้คงที่แต่อาจน้อยเกินไป ขาดแคลนแรงงานมากขึ้นจึงทำให้จำเป็นต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแต่ต้องสอดคล้องกับบริหารเศษฐกิจที่จะไม่ก่อให้เกิดค่าครองชีพที่แพงเกินควรนั้นเองครับ

ความสำคัญของค่าแรงขั้นต่ำ

สำหรับข้อดีของการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น ความเป็นอยู่ของแรงงานดีขึ้น รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้นและเกิดความเสมอภาค ส่วนข้อเสีย ได้แก่ ราคาสินค้าสูงขึ้น การจ้างงานในธุรกิจเอสเอ็มอีลดลง เกิดการย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่น และมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานมากขึ้นนั้นเอง

ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม

เนื่องด้วยค่าครองชีพต่อหัวในปัจจุบันนั้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาหารจากจานละ 20 บาท เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ถูกปรับขึ้นราคาตามวัตถุดิบต่างๆ จนในปัจจุบันอยู่ที่ราคาต่ำสุดที่ 45 บาท กันแล้ว แต่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยโดยเฉลี่ยทั่วไปยังอยู่ที่ประมาณ 350 บาทต่อวัน ถ้าคำนวณแค่เพียงค่าอาหาร 3 มื้อ ไม่รวมค่าเดินทางและอื่นๆ ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า “ไม่เหมาะสม” กันอย่างแน่นอน ดังนั้น “ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม” จะต้องสัมพันธ์กับ “ค่าครองชีพ” จึงจะดีที่สุดนั้นเองครับ

ผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ทุกๆ ท่านอาจคิดไม่ถึง

●ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ นอกจากนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นแล้ว อย่าลืมว่ายังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับค่าจ้างตามมาอีกคือ  เงินสมทบกองทุนประกันสังคม, เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ค่าล่วงเวลา และรายจ่ายอื่นๆ ที่คิดจากเงินเดือนเป็นฐาน เช่น ค่าคอมมิชชั่น และโบนัส เป็นต้น

●ความสามารถในการใช้จ่ายภาคประชาชนสูงขึ้น การที่ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการจับจ่ายซื้อขายให้กับประชาชน ทำให้เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อน เกิดการท่องเที่ยวและการกระจายรายได้ให้กับทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะครับ

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอัตโนมัติดีหรือไม่?

การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามระบบอัตโนมัติ มีข้อดีที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องความล่าช้าในกระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยให้เท่าทันกับดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อปากท้องประชาชนนั้นเองครับ แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ด้วยเช่นกัน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมต้องดูอะไรบ้าง?” พร้อมกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับค่าแรงที่เราได้นำมาฝาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

You May Also Like

เงินชดเชยเลิกจ้าง

สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง

กฏหมายแรงงาน

กฏหมายแรงงานพื้นฐานที่ควรทราบ

สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว

สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้

แรงงานต่างด้าว

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงานต่างด้าว