ผลไม้ GMO

ผลไม้ GMO

ผลไม้ GMO มีผลข้างเคียงหรือไม่?

เคยได้ยินหรือได้อ่านเกี่ยวกับข่าวของ “การตัดต่อพันธุกรรม” กันบ้างมั้ยครับ โดยเฉพาะเรื่องของผลไม้พืชพันธุ์ที่มีการตัดแต่งเพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องของ “ผลไม้ GMO” พวกนี้อย่างแน่นอน วันนี้เราจึงอยากเป็นตัวแทนพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ผลไม้ GMO มีผลข้างเคียงหรือไม่?” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “การตัดต่อพันธุกรรม” การตัดต่อพันธุกรรมหรือที่เราเรียกสั้นๆ กันว่า “GMO” ย่อมาจาก Genetically Modified Organism หมายถึงจุลินทรีย์พืชและสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมคือมีการตัดต่อและปลูกถ่ายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งหรือชนิดเดียวกันและยีนที่ถูกถ่าย กระบวนการดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMO ทำอย่างไร? สำหรับกระบวนการ GMO นี้ จะทำโดยการนำยีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมาผ่านกระบวนการโดยใส่ยีนนี้เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยที่ยีนของทั้งสองสิ่งนี้ในธรรมชาติไม่สามารถนำมาผสมพันธุ์กันได้ เป็นการทำขึ้นเพื่อให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่เราต้องการ โดยเรียกยีนจากสิ่งมีชีวิตสองสิ่งที่ถูกนำมาผสมกันแล้วนี้ว่า GMO นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นพืชที่ผ่านกระบวนการตัดต่อยีน หรือ GMO ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมนี้มากมายเลยทีเดียวในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น มันฝรั่ง, ข้าวโพด, มะละกอ, มะเขือเทศ หรือถั่วเหลือง เป็นต้น เรียกว่ากระบวนการนี้ใช้ได้ผลดีในพืชจำนวนมาก แต่กับสัตว์นั้นยังคงมีข้อจำกัดอยู่ GMO มีผลข้างเคียงหรือไม่? การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในการตัดต่อทางพันธุกรรม นักวิทยาศาสตร์ได้มีการนำยีนที่ช่วยให้สายพันธุ์ของพืชและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มีคุณภาพดีขึ้น แต่ก็มีความกังวลว่ายีนเหล่านั้นอาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ เช่น การดื้อยาปฏิชีวนะ หรือทำให้เด็กที่เกิดมามีความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ และนอกจากนี้การผสมพันธุ์แบบข้ามสายพันธุ์ เนื่องจากในปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมถูกใช้มากขึ้น จึงทำให้เสี่ยงต่อการผสมข้ามสายพันธุ์ และเมื่อพืชเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้อีกด้วยครับ ประโยชน์ของการทำพืชผลไม้ GMO ●ช่วยให้มีพืชสายพันธุ์ใหม่ๆ ออกมา โดยสามารถทานต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี รวมทั้งป้องกันตนเองจากศัตรูพืชได้ ●ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าปกติ ช่วยแก้ปัญหาในด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี ●มีผลผลิตที่ขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งมีคุณค่าอาหารเพิ่มขึ้น ●ทำให้ได้ผลผลิตที่แปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หรือสีสันต่างๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น ● ...

Read More