Year: 2024

อาหารรสจัด

ทำไมจึงไม่ควรกินอาหารรสจัดบ่อยๆ

การรับประทานอาหารที่อร่อยๆ เป็นสิ่งที่สามารถสร้างความสุขให้กับเราอย่างมากมายเลยถูกมั้ยครับ จนในบางครั้งอาหารที่เราชอบๆ และกินเยอะมากๆ โดยไม่ระวังอย่าง “อาหารจำพวกรสจัดๆ ” ก็อาจส่งผลเสียกับร่างกายของเราได้โดยไม่ทันตั้งตัวเลย บทความนี้จะขอพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำไมจึงไม่ควรกินอาหารรสจัดบ่อยๆ” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ นิยมของคำว่า “อาหารรสจัด” เป็นอาหารที่มีครบ 5 รส ทั้งเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และเผ็ด ซึ่งแต่ละรสชาติหากกินมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ ถ้าอย่างนั้นมาดูกันว่าประโยชน์และโทษของอาหารรสชาติจัดจ้าน รวมถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดจากการอักเสบได้เช่นกัน เราไม่ควรกินอาหารรสจัดบ่อยๆ เพราะอะไร? ลดหวาน ลดเผ็ดและลดเค็มสักนิด เพื่อสุขภาพไตที่ดี กินเค็มจัด หรือกินอาหารที่มีโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ไตจะทำงานหนัก เพื่อเร่งขับเกลือออกจากร่างกายให้มากที่สุด ส่งผลให้ไตเกิดความเสียหาย ทำลายไตและหัวใจในที่สุด ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้ ●รสเผ็ด จริง ๆ แล้ว ลิ้นของเราไม่มีต่อมรับรู้รสเผ็ด ยิ่งกินเผ็ดมาก ยิ่งเพิ่มความระคายเคืองของเนื้อเยื่อ หากส่องกล้องดู จะพบว่าเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหารอักเสบและบวมแดง ส่งผลให้เกิดกรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน และท้องผูกสลับท้องเสีย ●รสหวาน กินอาหารรสหวานจัด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนต้องทำงานเพื่อผลิตอินซูลินมากขึ้น และในที่สุดก็จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน ●รสเค็ม ลดเค็มสักนิด เพื่อสุขภาพไตที่ดี กินเค็มจัด หรือกินอาหารที่มีโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ไตจะทำงานหนัก เพื่อเร่งขับเกลือออกจากร่างกายให้มากที่สุด ส่งผลให้ไตเกิดความเสียหาย ทำลายไตและหัวใจในที่สุด ●รสเปรี้ยว กระเพาะอาหารของคนเรามีกรดมากอยู่แล้ว ยิ่งทานอาหารรสเปรี้ยว ยิ่งเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารเข้าไปอีก ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระเพาะ เคลือบฟันบางลง เสียวฟัน และ ฟันผุง่ายขึ้น ข้อดีและข้อเสียของอาหารรสหวานจัด เค็มจัดและเผ็ดจัด “อาหารรสเผ็ด” ●ข้อดี คือ อาหารรสเผ็ดช่วยให้การทำงานของปอดและลำไส้เป็นไปตามปกติ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ...

Read More
เงินชดเชยเลิกจ้าง

สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง

ว่ากันด้วยเรื่องหน้าที่การงานของเราในทุกๆ วันนี้ เป็นอะไรที่เราจะต้องให้ความสำคัญและทุ่มเทในการทำงานกันเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ครับ แต่ด้วยความที่ยุคนี้งานหายากมากๆ และเศรษฐกิจก็ไม่ดีก็อาจจทำให้เกิดการ “เลิกจ้างได้” วันนี้เราจะมาพาทุกๆ ท่านไปเตรียมตัวและหาความรู้เกี่ยวกับ “สิ่งที่ต้องได้รับหากถูกเลิกจ้าง” ที่น่าสนใจกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ ความคุ้มครองที่ได้รับจากประกันสังคมในช่วงโดนเลิกจ้างหรือว่างงานที่ควรทราบ ●กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน●กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนไปรักษา●รักษาฟรีที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้●ถ้าหมอให้หยุดพักเพื่อรักษาตัว ได้เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะโรคเรื้อรังปีละไม่เกิน 365 วัน) ●รักษาฟันฟรี ปีละ 900 บาท ●กรณีคลอดลูก เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด●กรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ●กรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ●กรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน●กรณีชราภาพ จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนที่จ่ายมา เงินชดเชยเลิกจ้างแบ่งสัดส่วนเป็นอย่างไรและประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? กรณีที่พนักงาน “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” จะได้เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น ...

Read More
กฏหมายแรงงาน

กฏหมายแรงงานพื้นฐานที่ควรทราบ

หลายๆ ท่านเคยสงสัยกันเกี่ยวกับเรื่อง “สิทธิประโยชน์และกฏหมายแรงงาน” กันมาบ้างมั้ยครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องรู้กันเอาไว้เพื่อประโยชน์ของตนเอง วันนี้เราเลยอยากจะมาพาทุกๆ ท่านไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ “กฏหมายแรงงานพื้นฐาน” ที่ควรทราบกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!! ทำความรู้จักกับ “กฏหมายแรงงาน” กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร มีที่มาจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวดดังกล่าวนี้ มีทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายๆ อย่าง ดังเช่น ●การลาป่วย สำหรับการลาป่วยตามมาตรา 32 นั้นลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ หากป่วยและลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ หากในกรณีที่แสดงไม่ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี ตามมาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 นี้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 146 ฉะนั้นแล้วในการลาป่วยก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายแรงงานด้วย บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม ●การลากิจ (ธุระอันจำเป็น) การลาแบบนี้เอาไว้ใช้ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้เพื่อไปทำธุระจำเป็น ซึ่งการลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้ ●การลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน ...

Read More
สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว

สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้

เรื่องของสิทธิประโยชน์ของคนวัยทำงานทุกคนนั้น เป็นอะไรที่ต้องศึกษากันเอาไว้เผื่อใช้ประโยชน์ของตนเองเป็นการดีที่สุดใช่มั้ยหล่ะครับ ซึ่งในสิทธิเหล่านี้ครอบคลุมถึงแรงงงานต่างชาติด้วยเช่นกันครับ วันนี้เราเลยจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “สิทธิของแรงงานต่างชาติที่พึงรู้” ที่น่าสนใจกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยยย!!! สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย สิทธิพื้นฐานสำคัญเมื่อแรงงานต่างด้าวตัดสินใจเข้ามาทำงานในเมืองไทยคือเรื่องของสุขภาพอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งในส่วนนี้คือเรื่องของประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้ 1. ประกันสังคม หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีรายชื่อเป็นพนักงานองค์กรชัดเจนจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบไม่ต่างจากแรงงานไทย จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะของการเป็นผู้ประกันตน มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ตนเองสังกัดหรืออยู่ในเครือข่ายแบบไม่ต้องเสียเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ ดังนี้ - เมื่อขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้วต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 5% ของเงินเดือน (ไม่เกิน 750 บาท) นายจ้างจ่าย 5% และรัฐบาลไทยจ่าย 2.75%- แรงงานจะได้รับสิทธิประโยชน์รวม 7 รายการ ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน- มีกองทุนเงินทดแทนโดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายในอัตรา 0.2-1% ของค่าจ้างตามประเภทความเสี่ยงกิจการ เงินส่วนนี้แรงงานได้รับต่อเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญหาย หรือเสียชีวิตขณะทำงาน 2. สิทธิประกันสุขภาพ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเข้าตาม MOU และทำงานประเภทแม่บ้าน เกษตรกร เลี้ยงสัตว์ การประมง การค้าที่ไม่ใช่ธุรกิจของตนเอง กลุ่มนี้จะไม่มีการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่ใช้การเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพตามเงื่อนไขของกระทรวงสาธารณสุข มีค่าจ่ายค่าตรวจสุขภาพปีละ 500 บาท และค่าประกันสุขภาพปีละ 1,600 บาท จากนั้นรายชื่อของแรงงานจะถูกบันทึกเอาไว้ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบเดียวกับคนไทย ส่งผลให้พวกเขาสามารถขอรับสิทธิ์ต่าง ๆ ตามโครงการประกันสุขภาพได้ทันที เช่น การเลือกสถานพยาบาลที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย ประสบอันตราย เป็นอีกสิทธิด้านสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานต่างด้าวอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ●นายจ้างต้องปฏิบัติกับแรงงานเพศชายและหญิงอย่างเท่าเทียมยกเว้นสภาพหรือลักษณะงานที่ไม่สามารถปฏิบัติได้●งานทุกประเภทสามารถทำได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน ...

Read More