ทำไมจึงไม่ควรกินอาหารรสจัดบ่อยๆ

อาหารรสจัด

การรับประทานอาหารที่อร่อยๆ เป็นสิ่งที่สามารถสร้างความสุขให้กับเราอย่างมากมายเลยถูกมั้ยครับ จนในบางครั้งอาหารที่เราชอบๆ และกินเยอะมากๆ โดยไม่ระวังอย่าง “อาหารจำพวกรสจัดๆ ” ก็อาจส่งผลเสียกับร่างกายของเราได้โดยไม่ทันตั้งตัวเลย บทความนี้จะขอพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำไมจึงไม่ควรกินอาหารรสจัดบ่อยๆ” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ

นิยมของคำว่า “อาหารรสจัด”

เป็นอาหารที่มีครบ 5 รส ทั้งเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และเผ็ด ซึ่งแต่ละรสชาติหากกินมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ ถ้าอย่างนั้นมาดูกันว่าประโยชน์และโทษของอาหารรสชาติจัดจ้าน รวมถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดจากการอักเสบได้เช่นกัน

เราไม่ควรกินอาหารรสจัดบ่อยๆ เพราะอะไร?

ลดหวาน ลดเผ็ดและลดเค็มสักนิด เพื่อสุขภาพไตที่ดี กินเค็มจัด หรือกินอาหารที่มีโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ไตจะทำงานหนัก เพื่อเร่งขับเกลือออกจากร่างกายให้มากที่สุด ส่งผลให้ไตเกิดความเสียหาย ทำลายไตและหัวใจในที่สุด ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

●รสเผ็ด จริง ๆ แล้ว ลิ้นของเราไม่มีต่อมรับรู้รสเผ็ด ยิ่งกินเผ็ดมาก ยิ่งเพิ่มความระคายเคืองของเนื้อเยื่อ หากส่องกล้องดู จะพบว่าเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหารอักเสบและบวมแดง ส่งผลให้เกิดกรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน และท้องผูกสลับท้องเสีย

●รสหวาน กินอาหารรสหวานจัด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนต้องทำงานเพื่อผลิตอินซูลินมากขึ้น และในที่สุดก็จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน

●รสเค็ม ลดเค็มสักนิด เพื่อสุขภาพไตที่ดี กินเค็มจัด หรือกินอาหารที่มีโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ไตจะทำงานหนัก เพื่อเร่งขับเกลือออกจากร่างกายให้มากที่สุด ส่งผลให้ไตเกิดความเสียหาย ทำลายไตและหัวใจในที่สุด

●รสเปรี้ยว กระเพาะอาหารของคนเรามีกรดมากอยู่แล้ว ยิ่งทานอาหารรสเปรี้ยว ยิ่งเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารเข้าไปอีก ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระเพาะ เคลือบฟันบางลง เสียวฟัน และ ฟันผุง่ายขึ้น

ข้อดีและข้อเสียของอาหารรสหวานจัด เค็มจัดและเผ็ดจัด

“อาหารรสเผ็ด”

●ข้อดี คือ อาหารรสเผ็ดช่วยให้การทำงานของปอดและลำไส้เป็นไปตามปกติ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยขับเหงื่อ ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ และยังช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

● ข้อเสีย คือ อาหารรสเผ็ดจัดก็สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้อาหารรสเผ็ดจำพวกเครื่องแกงมักมีส่วนผสมของเกลือ ผงชูรส ซึ่งมีโซเดียมอยู่มาก จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต

“อาหารรสเค็ม”

●ข้อดี คือโซเดียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของเกลือ ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ระดับปกติ ช่วยควบคุมระดับความเป็นกรด และด่างของเลือด ช่วยขับร้อน
● ข้อเสีย คือ เมื่อร่างกายมีปริมาณโซเดียมจากเกลือสูงกว่าปกติ ร่างกายจะพยายามขับออกทางปัสสาวะ ส่งผลให้เรารู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน หรือถ้าหากเป็นมากถึงขั้นภาวะขาดน้ำได้ นอกจากนี้ รสเค็มจะทำให้เลือดในร่างกายไหลเวียนช้าทำให้ความดันโลหิตสูง

“อาหารรสหวาน”

●ข้อดี คือ น้ำตาลจัดอยู่ในอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานกับร่างกายโดยทันที และส่งผลให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้ประเปร่าด้วย ยังช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหารและม้ามอีกด้วย รสหวานมีสรรพคุณทานยา รักษาอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง และแก้กระหายได้อีกด้วย
●ข้อเสีย คือ เมื่อทานอาหารที่มีรสหวานมาก ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน เพราะการได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป ส่งผลให้อ้วน ทำให้เกิดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคไต

และนี้ก็คือความรู้เกี่ยวกับ “ทำไมจึงไม่ควรกินอาหารรสจัดบ่อยๆ” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ

You May Also Like

การกินเจ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “การกินเจ”

ผลไม้ GMO

ผลไม้ GMO มีผลข้างเคียงหรือไม่?

อาหารสำหรับผู้ที่จะลดน้ำหนัก

4 แนวทางการเลือกกินอาหารสำหรับคนลดน้ำหนัก

ขนมแคลลอรี่ต่ำ

5 ขนมแคลลอรี่ต่ำใน 7-eleven